วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ศาสนามีความเกี่ยวข้องต่อการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร New

ศาสนาเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการกำหนดวิถีชีวิตมนุษย์ในแทบทุกสังคม และเป็นปัจจัยที่ฝังรากลึกตั้งแต่ในเยาว์วัย เมื่อเป็นเช่นนี้ศาสนาที่ผู้บริโภคในแต่ละประเทศนับถือจึงพอที่จะเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมการบริโภคสินค้าได้ ทำให้ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องบริหารงานทางด้านการตลาดในต่างประเทศให้สอดคล้องต่อความเชื่อทางศาสนาของผู้บริโภคในประเทศนั้นด้วย ตัวอย่างเช่นสินค้าที่ขายในประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามก็จะต้องไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหมูอย่างเด็ดขาด จากการที่ศาสนาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศทั้งในด้านการตลาดและการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันของประชาชนในแต่ละประเทศ ทำให้ผู้บริหารของกิจการข้ามชาติต้องมีความเข้าใจพื้นฐานของแต่ละศาสนาอยู่บ้าง

วัตถุประสงค์ของการตลาดระหว่างประเทศ New

1.เป็นการระบายสินค้าส่วเกินที่ผลิตได้ในประเทศและสามารถเพิ่มรายได้ให้กิจการ
2.เป็นการลดต้นทุนสินค้าลง ในการที่กิจการสมารถขยายตลาดไปยังต่างประเทศโดยผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยในการผลิตลดลงได้อย่างมาก
3.การขยายตลาดไปในหลาย ๆ ประเทศเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
4.เป็นการเรียนรู้เทคโนโลยีจากแหล่งต่าง ๆทั่วโลก
5.ได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันไปในด้านพฤติกรรม ซึ่งทำให้กิจการสามารถเรียนรู้ความแตกต่างที่เกิดขึ้นเพื่อมาปรับใช้ทำให้เกิดแนวคิดทางการตลาดใหม่ ๆ และสามารถนำไปปรับใช้กับประเทศอื่น ๆ ได้

การตลาดระหว่างประเทศ New

การตลาดระหว่างประเทศหมายถึงกิจการที่มีกิจกรรมทางธุรกิจในต่างประเทศเกินกว่าจะเป็นเพียงแกรส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศ กล่าวคือกิจการอาจมีการตั้งสาขาในต่างประเทศ หรือมีกิจการอื่นในต่างประเทศมากขึ้น เช่นการไปลงทุนผลิตในต่างประเทศ ทำให้กิจการต้องมีกลยุทธ์ในการดำเนินงานในต่างประเทศที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละประเทศมากขึ้น เพราะการไปลงทุนหรือมีสาขาในต่างประเทศ ทำให้กิจการต้องเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในประเทศนั้น และสภาพแวดล้อมเหล่านั้นจะมีผลต่อการดำเนินงานในต่างประเทศ เช่น สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ความแตกต่างเหล่านั้นจะส่งผลต่อกิจกรรมทางการตลาดซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคมาก ไม่ว่าจะเป็นการจัดจำหน่าย การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย การจัดจำหน่าย การกำหนดราคาขายและปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับการส่งออกแล้วกิจการที่ดำเนินการส่งออกยังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการตลาดในต่างประเทศ เนื่องจากเพียงแค่ส่งสินค้าให้แก่ผู้นำเข้าในต่างประเทศ หลังจากนั้นกิจกรรมทางการตลาดในต่างประเทศจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นำเข้า ในขณะที่การตลาดระหว่างประเทศนั้น เมื่อกิจการไปลงทุนหรือทำการจัดจำหน่ายในต่างประเทศ ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการตลาดในต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จของกิจการจากการไปลงทุนในต่างประเทศ