วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนวความคิดทางการตลาดระหว่างประเทศ

แนวความคิดทางการตลาดหมายถึง จุดเน้นทางการตลาดที่ธุรกิจนำมาใช้เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจ จุดเน้นทางการตลาดในช่วงเวลาหนึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ ตามสภาพแวดล้อมทางการตลาด และคู่แข่งขัน ก่อน ค.ศ. 1960 แนวความคิดทางการตลาดมีจุดเน้นที่ผลิตภัณฑ์ พยายามปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้นมุ่งเพื่อยอดขายที่เพิ่มขึ้น ซึงจะส่งผลถึงวัตถุประสงค์ของธุรกิจ คือ กำไรจากยอดขาย แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่เก่าแก่ที่สุด สภาพตลาดในสมัยก่อนปริมาณสินค้ามีไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ผลิตเท่าไหร่ก็ขายได้หมด ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1960 แนวความคิดทางการตลาดเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นแนวความคิดแบบใหม่ มีจุดเน้นใหม่ที่ผู้บริโภค ยึดหลักว่าธุรกิจจะประสบความสำเร็จเมื่อการตลาดสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้จึงพยายามจัดส่วนผสมทางการตลาดให้สอดคล้องกับผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ มุ่งเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความพอใจและธุรกิจก็จะได้กำไรเป็นการตอบแทน
แนวคิดทางการตลาดระหว่างประเทศ ได้มีการกล่าวถึงในปี ค.ศ. 1980 กล่าวว่า จุดเน้นทางการตลาดที่คำนึงถึงผู้บริโภคอย่างเดียวยังไม่พอที่จะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่ได้ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในระดับโลก ธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมภายนอกของธุรกิจและคู่แข่งขันด้วย วัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจก้เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน กำไรของธุรกิจจะต้องรวมถึงกำไรของผู้ถือหุ้น ความพอใจของพนักงานภายในองค์กร ลูกค้า สังคมและ รัฐบาล วิธีการที่จะทำให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด คือ การนำเอากลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้

ขอขอบคุณที่มา ศศิวิมล สุขบท การตลาดระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น